บทความ สาระน่ารู้ วงการรับเช่าพระ

ข่าวสารรับเช่าพระ

ร้านเช่าพระแนะนำ 10 วิธีการบูชาพระเครื่องให้เสริมบารมีตน!

ร้านเช่าพระแนะนำ 10 วิธีการบูชาพระเครื่องให้เสริมบารมีตน!

คนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนานั้นยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุด สิ่งใดที่จะเป็นที่พึ่งอันสูงยิ่งกว่าพระรัตนตรัยไม่มีอีกแล้ว คนไทยหลายคนแสดงออกด้วยการบูชาพระเครื่องพระบูชา แต่สังคมไทยเป็นสังคมใหญ่ คติความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกัน แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เป็นข้องถกเถียงแตกแยก เพียงแต่เรามาทำความเข้าใจให้ตรงกัน เพราะจุดมุ่งหมายในการบูชาพระเหมือนกันเพื่อความเป็นสิริมงคล วันนี้เรามาดูว่ามีความเชื่อและ ข้อสงสัยในการบูชาพระเครื่อง ที่ต้องทำความเข้าใจกัน

1. ห้ามห้อยพระเป็นเลขคู่

เราคงเคยเห็น เคยได้ยินคนเขาบอกว่าการแขวนพระห้ามห้อยเป็นจำนวนคู่ คนที่ห้อยพระเครื่องหลาย ๆ องค์ จะเห็นห้วยกัน 1 องค์  3 องค์  5 องค์  7 องค์ 9 องค์ จึงพาให้สงสัยว่าการห้อยพระเครื่องเป็นเลขคู่จะทำให้พระเครื่องไม่ศักดิ์สิทธิ์หรือเปล่า หรือมีเหตุผลอื่นใด ซึ่งจริง ๆ แล้วหากตอบด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ได้ง่าย ๆ ว่า ที่ห้อยเป็นเลขคี่โดยส่วนใหญ่นั้น เพื่อให้เกิดความสมดุลในการห้อยพระ เพราะถ้าห้อย 1 องค์ มีตรงกลางองค์เดียวพระก็อยู่ตรงกลางไม่ขยับเขยื้อนไปไหน ห้อย 3 องค์ ก็มีความสมดุลซ้ายขวาข้างละองค์ ห้อย 5 องค์ ก็มีความสมดุลซ้ายขวาข้างละ 2 องค์พอดี ห้อย 9 องค์ ก็มีความสมดุลซ้ายขวาข้างละ 4 องค์ ทำให้เกิดความสมดุลในการห้อยพระ ตั้งตรงสร้อยไม่บิดเบี้ยว ด้านความสวยงามจะเห็นว่าการห้อยเป็นเลขคี่ ห้อยแล้วมองดูมีความสวยงามมากกว่าการห้อยเป็นจำนวนเลขคู่

2. ทำไมต้องห้อยพระไว้ข้างหลัง

การแขวนพระไว้ด้านหลังเพื่อป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะมาทำร้าย เพราะด้านหลังเราจะไม่มีอะไรป้องกันเหมือนด้านหน้า ซึ่งตามความเชื่อ เขาว่าสิ่งไม่ดีไม่ว่าจะเป็น ผี วิญญาณ หรือคุณไสยมนต์ดำต่าง ๆ มักเข้าด้านหลัง เท่าที่เห็นมาส่วนใหญ่มักห้อยพระไว้ด้านหน้า ส่วนด้านหลังก็จะเป็นเทพ หรือ เครื่องลาง หรือพระขนาดเล็กหน่อย ทุกวันนี้พวกเราจะระวังกันแต่หน้า ส่วนด้านหลัง ก็ให้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านคุ้มครองให้ได้ การห้อยพระไว้ข้างหลัง ไม่ได้มีข้อห้ามไว้ ใครจะห้อยก็ไม่ได้ผิดกติกาแต่อย่างไร แล้วแต่ความชอบส่วนตัว แต่มีข้อสังเกตว่ามักจะเป็นผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ที่ห้อยพระไว้ข้างหลัง ไม่ค่อยได้พบผู้หญิงที่ ห้อยพระในลักษณะนี้

3. ห้อยพระไว้นอกเสื้อได้หรือไม่

เคยมียุคหนึ่งที่มีเทพองค์หนึ่งดังมาก ๆ ระดับฟีเวอร์กันทั้งประเทศ ไปไหนมาไหนเห็นแต่คนที่ห้อยเทพองค์นี้ต้องห้อยไว้นอกเสื้อเหมือนโชว์ว่าของฉันรุ่นนั้นรุ่นนี้อะไรประมาณนั้น ไม่ได้มีการเก็บสถิต หรือข้อมูลทางวิชาการใดมาระบุว่าการห้อยพระไว้นอกเสื้อหรือในเสืออย่างไหนดีกว่ากัน ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว ความจริงแล้วการห้อยพระถ้าจะให้เหมาะสมควรห้อยในเสื้อจะดูเหมาะสมกว่า

4. ห้อยพระแล้วลอดราวตากผ้าพระเสื่อมหรือไม่

ถ้าจะพูถึงศึลของพระตามพระวินัย ไม่มีข้อไหนระบุห้ามลอดราวตากผ้า นั่นหมายความการลอดราวตากผ้า ไม่ได้ทำให้ ศีล สมาธิ ญาณ เสื่อมลงแต่อย่างไร ดังนั้นการห้อยพระแล้วไปรอดรวมตากผ้า พระจึงไม่เสื่อม เพราะพระเครื่องที่ผ่านการปลุกเสกด้วยพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ไม่มีวันเสื่อม แต่เมื่อเราห้อยพระแล้วควรระมัดระวังในการยืน เดิน ให้ดี อย่าไปลอดผ่านราวตากผ้าถุง ผ้าโสร่ง ถึงแม้พระไม่เสื่อม แต่ฐานะที่เราเป็นคนไทยซึ่งถือเรื่องนี้ว่าไม่เหมาะสม

5. ตะกรุดทำไมต้องคาดเอว

เนื่องด้วยรูปลักษณะของตะกรุดเป็นท่อยาว ๆ มีรู ซึงเหมาะกับการร้อยเชือก คนสมัยโบราณจึงนิยมนำร้อยเชือกคาดเอว อาจเป็นเพราะว่าเมื่อก่อนเราไม่มีกรอบใส่ตะดรุด หรือร้านเลี่ยมพระก็ไม่นิยมเลี่ยมตะกรุดกัน จึงมักนำมาร้อยเอวบ้าง แนบเอวบ้าง ถือว่าทำได้ไม่ผิดกติกาใด ๆ แต่เดี๋ยวนี้มีคนเอาตะกรุดมาคล้องคอเหมือนกัน ซึ่งดูแล้วก็สวยงามดี

6. ตั้งพระในรถหันหน้าพระทางไหนดี

การตั้งพระในรถไม่มีกำหนดตายตัว เอาเป็นว่าชอบให้พระท่านหันหน้าออกหรือหันหน้าเข้ามาในรถตามสะดวก เพราะพระท่านเป็นผู้ทรงอภิญญาท่านเห็นได้รอบทิศทางอยู่แล้ว แต่ควรเน้นที่ขนาดพระ ที่ควรเป็นพระที่มีขนาดเหมาะสม ไม่เล็ก ไม่ใหญ่เกินไป ควรเป็นพระปางนั่งดีกว่า พระปางยืน เนื่องจากพระปางนั่งเวลาตั้งหน้ารถแล้วองค์พระจะมั่นคง การทรงตัวดีกว่า ควรวางพระในจุดที่ไม่บังทัศนวิสัยของคนขับรถ และห้ามวางไว้ตำแหน่งถุงลมนิรภัย เพราะหากยามที่รถเกิดอุบัติเหตุ ถุงลมจะพองตัวออกมา พระอาจกระเด็นมาโดนคนในรถได้ เห็นบางคนนอกจากวางพระไว้หน้ารถแล้ว ยังมีแขวนพระเครื่อง เครื่องราง ไว้ด้วย การแขวนพระในรถควรเป็นพระองค์เล็กจะดีกว่า 

7. ใส่พระเข้าไปในห้องน้ำได้หรือไม่

การใส่พระเข้าไปทำธุระในเข้าห้องน้ำสามารถทำได้ แต่ถ้าจะอาบน้ำควรถอดพระออกก่อน เพราะน้ำอาจทำให้พระสึกกร่อน ถ้าเป็นพระโลหะอาจทำให้เป็นสนิมได้ อย่าว่าแต่ใส่พระเข้าห้องน้ำเลย การเข้าห้องน้ำขับถ่ายหนักเบาก็ไม่ได้มีข้อห้ามไว้ เราจะสวดมนต์ นั่งภาวนาในห้องน้ำก็ยังได้ เป็นสิ่งดีซะอีก เหมือนกับเราได้เจริญภาวนาไว้ตลอดเวลา ย่อมมีแต่คุณความดี

8. ตั้งหิ้งพระไว้ในห้องนอนได้หรือไม่

หิ้งพระไม่ควรตั้งไว้ในห้องนอน เนื่องจากห้องนอนเป็นห้องที่เราอาจทำอะไรไม่สำรวมหรือมีกิจกรรมอื่น ๆ แบบปุถุชน อันเป็นการไม่เหมาะสม ดังนั้น พระควรตั้งไว้ในห้องพระจะดีกว่า การเก็บพระในห้องนอน ควรเป็นพระเครื่องที่เราห้อยประจำตัวก็พอแล้ว แต่การเก็บควรวางในที่เหมาะสม เช่น บนโตีะ ในลิ้นชัก เป็นต้น 

9. ใส่พระเวลานอนได้หรือไม่

การใส่พระเวลานอนก็ไม่ดี เนื่องจากเวลาที่เรานอนเราต้องการพักผ่อน เป็นเวลาที่เราทำตัวให้สบาย การใส่พระไว้กับตัว พระอาจกดทับตัวเราหรือสร้อยพระอาจพันคอเรา ทำให้ไม่สบายตัวนอนหลับไม่สบาย ดังนั้นพระที่เราถอดไว้ควรหาที่แขวนที่เหมาะสม หรือเก็บไว้ในลิ้นชักให้เรียบร้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ตัวคนห้อยพระ บางทีสร้อยพระที่ห้อยเป็นสร้อยเส้นเล็ก จะถอดออกก็ไม่สะดวกเนื่องจากสร้อยเส้นเล็กถอดออกไม่ได้ติดศีรษะ ประกอบกับอาจใส่พระนอนจนชินแล้ว ซึ่งข้อนี้ก็แล้วแต่ปัจเจกบุคคล ไม่ได้มีข้อห้ามร้ายแรงอะไร 

10. ผู้หญิงห้อยเครื่องรางได้หรือไม่

ในอดีตเรามักจะเห็นแต่ผู้ชายที่ชอบห้อยเครื่องรางตามตัว แต่ในปัจจุบันเครื่องรางได้มีหลายขนาด ปัจจุบันมีขนาดเล็กสำหรับผู้หญิงไว้พกพาได้ และเครื่องรางจะแต่ละพระเกจิก็ไม่ได้มีข้อห้ามเอาไว้ เดี๋ยวนี้เราจะเห็นผู้หญิงหลาย ๆ คนพกเครื่องรางติดตัวไว้ มีผู้หญิงบางคนนิยมห้อยเครื่องรางกันชงกันเยอะ เช่น ตัวเองเกิดปีนักษัตรอะไร แล้วปีเกิดเราเกิดไปชงกับปีนักษัตรประจำปีนั้น ๆ คนเหล่านี้ก็มักหาเครื่องรางกันชงมาพกติดตัว ซึ่งก็มีหลายลักษณะ เชน เป็นเหรียญห้อยคอ เป็นรูปปีนักษัตรอื่น ๆ ที่กันชงได้ แบบพกพาใส่กระเป๋าถือ วางไว้ในรถ ไว้ที่ตโตีะทำงาน เป็นต้น

สำหรับ ข้อสงสัยในการบูชาพระเครื่อง พระบูชา ที่เป็นวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ อยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างแยกไม่ออก บางคนที่ออกจากบ้านแล้วลืมห้อยพระไปก็ต้องรีบกลับบ้านไปเอาพระมาห้อยคอ นั่นเพราะวิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับพระเครื่อง คติความเชื่อต่าง ๆ ก็ต้องมาปรับเพื่อให้มีการนับถือที่เหมือนกันไม่แตกแยก

094-545-8999
094-545-8999